วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่างสี



  งานช่างสี่









งานสี เป็นงานช่วยรักษา ป้องกันสภาพผิวของเนื้อวัสดุให้คงทน มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน ทำให้ผิวงานมีความสวยงามยิ่งขึ้น งานสีจะเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต ลักษณะของผู้ที่จะเป็นช่างทาสี จะต้องเป็นคนที่ต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติงานจนเกิดทักษะ ความชำนาญเกี่ยวกับ เทคนิคขั้นตอนการทาสีหรือพ่นสี มีความเข้าใจเกี่ยวกับสีหรือวัสดุอื่นในการเคลือบผิว ตลอดจนโทนสีต่าง ๆ ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงให้ความรู้สึกร้อน สีฟ้าอ่อนให้ความรู้สึกกว้างสบายตา เป็นต้น ลักษณะการทำงานจะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตสูง การทาสีหากเป็นงานทาสีอาคาร ตึก ต้องใช้นั่งร้าน ทาสีในที่สูง ๆ ช่างสีจึงต้องเป็นคนที่กล้าทำงานในที่สูง 


งานสีแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้ 


1. งานทาสีปิดลายไม้ เช่นการทาสีหรือวัสดุอื่น แล้วมองไม่เห็นลายไม้

2. งานเคลือบผิวโชว์ลายไม้ เช่น การทาแลกเกอร์ เชลแล็ก ยูริเทน เมื่อทาแล้วสามารถมองเห็นลายไม้



สีน้ำอะครีลิก 
เหมาะสำหรับใช้ทาภายในอาคาร ในส่วนที่เเป็นพื้นผิวฉาบปูน อิฐ คอนกรีต ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น โดยสีน้ำอครีลิกจากแต่ละบริษัทจะมีคุณภาพของเนื้อสีแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้ 
- สีน้ำอะครีลิคแท้ 100 % 
ใช้ทาภายในเท่านั้น นอกเสียจากจะมีการผสมสารบางตัวในการยึดเกาะและทนทานต่อสภาวะอากาศต่าง ๆ ได้ เช่น สีน้ำอะครีลิกแท้ TM 100% เนื้อสีจะให้ฟิล์มสีกึ่งเงา เนื้อสีเรียบเนียนไม่สะท้อนแสง ลดการยึดเกาะของฝุ่น สีน้ำอะคริลิกเรซิน 100 % ให้สีทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยการชะล้าง และลดการก่อตัวของคราบสกปรกบนผนังจากน้ำฝน การยึดเกาะของสีดี ไม่ลอกร่อน สีน้ำอะครีลิกผลิตจากสารอีลาสโตเมอริค อคริลิก 100 % ให้ฟิล์มสีที่ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับการปกปิดพื้นผิว แตกลายงา ป้องกันการกัดกร่อนของผิวคอนกรีต และโครงสร้างของเหล็กภายในได้
- สีน้ำอะครีลิกที่มีฟิล์มสีมีประกาย (Shimmering Emulsion) 
โดยจะให้ลักษณะสีเป็นประกายเห็นได้ชัดแตกต่างจากสีทั่วไป เหมาะสำหรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความแตกต่างของสีสัน 
- สีน้ำอครีลิกผสมสารเทฟล่อน 
ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการเคลือบและป้องกันพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นผง หรือสิ่งสกปรก ปลอดภายจากความชื้น
โดยทั้งนี้ สีน้ำอะครีลิกทุกตัวในปัจจุบันมีการมุ่งเน้นในเรื่องของการเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย ป้องกันการเกิดตะใคร่น้ำและเชื้อรา ทนทานต่อความเป็นด่างของพื้นผิวได้ดี ที่สำคัญ ปราศจากสารปรอท สารตะกั่ว ให้ความปลอดภายแก้ผู้อยู่อาศัย
สีน้ำมัน 
เป็นสีที่ใช้สำหรับทาภายในและภายนอกในส่วนที่เป็นงานไม้ งานโลหะ และงานทั่วไปที่ต้องการความคงทนเป็นพิเศษ เช่นประตูหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยทั่วไปผลิตจากสารเรซิน ที่แต่ละแบรนด์จะมีสูตรผสมที่แตกต่างกันไป เนื้อสีจะให้ความงามมากกว่าเนือสีแบบอะครีลิกและไม่มีการผสมสารปรอท สารตะกั่ว ในเนื้อสี ให้ความปลอดภายในการนำไปใช้ 
สำหรับในปัจจุบัน มีหลากหลายทางเลือกในการใข้สีให้เมาะกับารูปแบบการตกแต่งต่าง ๆ จึงมีบริษัทสีหลายแห่งที่มีศูนย์ในการผสมสีตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถให้ผสมสีตามสั่งได้ตั้งแต่ขนาดควอทซ์ และขนาดเป็นแกลลอน ตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการนำไปใช้ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงขนาดพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนสั่งการผสมสีในทุกครั้ง


อุปกรณ์ช่างสี่


การรักษาอุปกรณ์งานช่างสี


1.ดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่รอบๆ
2. เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
3. ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
4. ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
5. ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในที่ทำงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง















































































































































































































วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานช่างปูน


งานช่างปูน


ยินดีต้อนรับเข้าสู้งานช่างปู 








ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ งานของช่างปูน เป็นงานสร้างทำอาคารสถานชนิดเครื่อง ก่อประเภท เจติยสถานและศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆ ใบเสมา กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น และงานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้น
ปูนอีกด้ว


งานปูน

 งานปูน จัดเป็นงานช่างเก่าแก่ จำพวกหนึ่งที่ในสยามประเทศนี้ ทั้งนี้พึงเห็นได้จากซากโบราณสถานประเภท เจติยสถาน ชนิดเครื่องก่ออิฐถือปูนทำลวดบังประกอบส่วนต่างๆ อย่างประณีตแสดงฝีมือและความสามารถช่างปูน ชั้นสูง แต่ทว่าหลักฐานความเป็นมาของช่างปูนรุ่นเก่าๆ นั้นไม่สู้มีหลักฐานสิ่งอื่นๆ แสดงให้ทราบได้ว่าเป็นช่างพวก ใดเป็นผู้สร้างทำ นอกเสียจากรูปแบบที่แสดงฝีไม้ลายมือฝากไว้เท่านั้น
           งานปูน หรืองานช่างปูนแต่สมัยก่อน มีชื่อเรียกเป็นคำเก่าอีกอย่างหนึ่งว่า "สทายปูน" งานของช่างปูน อาจจำแนกลักษณะงานของช่างปูนออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ด้วยกันคือ
1.ช่างปูนงานก่อ
2.ช่างปูนงานลวดบัว


ช่างปูนงานก่อ

 ช่างปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการก่อวัสดุชนิดต่างๆ เช่น อิฐ หิน ศิลาแลง เป็นต้น ขึ้นเป็นรูปทรงสิ่ง ต่างๆ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ก่อเขามอขึ้นอ่าง ไปจนกระทั่งก่อพระสถูปเจดีย์ ก่อพระพุทธปรางค์เจดีย์ หรือได้ทำการ ในด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ เครื่องหิน เครื่องอิฐก่อที่ชำรุดให้คืนดีขึ้นดั่งเดิม


ช่างปูนงานลวดบัว
 ช่างปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการถือปูนทำผิวเป็นลวดบัวแบบต่างๆ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวหลังเจียด บัวปากปลิง บัวลูกแก้ว บัวอกไก่ สำหรับประกอบทำฐานลักษณะต่างๆ เป็นต้นว่า ฐานเชิง บาตร ฐานเท้าสิงห์ ฐานปัทม์ ฐานเฉียง ฐานบัวจงกล ฯลฯ หรือทำการถือปูนจับเหลี่ยมเสาแบบต่างๆ คือ เสาแปดเหลี่ยม เสาย่อมุมไม้สิบสอง เสากลม เป็นต้น
           งานปูนที่เป็นงานในหน้าที่ของช่างปูนดังกล่าวมีวัตถุปัจจัยสำคัญสำหรับงาน คือ ปูน ซึ่งช่างปูนได้ใช้ในงาน ก่อ ฉาบ และถือปูนเป็นสิ่งต่างๆ มาแต่โบราณ การผสมปูนนี้ ช่างปูน บางคนได้ผสมเนื้อปูนให้มีคุณภาพเหนียวและ คงทนถาวรอยู่ได้นานปี บางคนใช้กระดาษฟางบ้าง หัวบุบุก หัวกลอยบ้าง แม้หัวต้นกระดาษก็ใช้ตำผสมเข้ากับเนื้อ ปูน เพื่อช่วยเสริมความเหนียวและยึดตัวดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อและประสบการณ์ของช่างปูนแต่ละคน
           งานช่างปูนนี้ เมื่อจะทำการคราวหนึ่งๆ จึงทำปูนขึ้นเฉพาะงานคราวนั้น จะทำเตรียมไว้ล่วงหน้านานเป็นแรม เดือนไม่ได้ การทำปูนเตรียมไว้สำหรับงานก่อ ฉาบ จับ ถือปูนเป็นงานค่อนข้างหนักแรง เพราะต้องใช้แรงตำปูนกับ สิ่งที่ผสมร่วมกันนานกว่าจะเข้าเป้นเนื้อเดียวและเหนียวได้ที่ ในการงานช่วงนี้ มักเป็นภาระหน้าที่ของลูกมือ ช่างปูนตำปูนให้แก่ช่างปูน แต่ในบางกรณีที่ช่างปูนได้ทำงานก่อ งานปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่เป็นงานของหลวง อุปถัมภ์การพระศาสนา มักมีชาวบ้านสมัครมาช่วยตำปูน เป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลด้วยการโขลกตำปูนถวายวัด บุญกิริยาเช่นนี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นในสมัยก่อน เมื่อมีการสร้างหรือซ่อมปูชนียสถาน หรือศาสนสถานอย่างหนึ่ง อย่างใดที่เป็นชนิดเครื่องก่อขึ้นในวัด ชาวบ้านวัยหนุ่มวัยสาวจะสมัครมาช่วยกันตำปูนเตรียมไว้สำหรับช่างปูน จะได้ใช้งานตำปูนนี้จะทำกันในตอนหัวค่ำภายหลังเสร็จธุระประจำวันแล้ว ตั้งครกตำปูนเรียงรายกันหลายๆ ลูกครก ตำปูนนี้โดยมากใช้ครกกระเดื่องซึ่งจะช่วยผ่อนแรงตำได้มาก เมื่อตำปูนเหนียวได้ที่ครกหนึ่งๆ ก็ตักเอาไปพักไว้ใน อ่างดิน เอาผ้าหรือฟางชุบน้ำคลุมปิดไว้ให้ปูนชื้นพอแก่เวลาที่ช่างปูนจะมาเอาไปใช้ในวันรุ่งขึ้น อนึ่ง ปูนที่จัดการ โขลกตำเตรียมไว้นี้ยังไม่ต้องใส่เชื้อน้ำตาล จะใส่เชื้อน้ำตาลก็ต่อเมื่อช่างปูนจะใช้ปูน จึงใส่เชื้อดังกล่าวเอาเองตาม ส่วนหรือขนาดที่เข้าใจ ธรรมเนียมชาวบ้านช่วยตำปูนถวายวัดนี้ นอกเสียจากเป็นบุญกิริยาแล้วยังอาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวได้มาสมาคมกันได้โดยผู้ใหญ่ไม่สู้เดียดฉันท์
           ช่างปูนที่เป็นช่างปูนงานก่อก็ดีช่างปูนงานลวดบัวก็ดี ช่างประเภทนี้ ใช้เครื่องมือที่จำเป็นอยู่ ๒-๓ อย่าง คือ
           เกรียงเหล็ก ขนาดต่างๆ
           เกรียงไม้
           ประทับหรือบรรทัด ถือลวดบัว หรือจับเหลี่ยม
           ครก และสากไม้
           ตะแกรง สำหรับร่อนปูน และทราย
           อ่างดิน สำหรับพักหรือหมักปูน
           ช่างปูน เป็นช่างฝีมือที่ได้ใช้ความสามารถของฝีมือสร้างทำปูนให้เป็นรูปลักษณ์ที่ประกอบไปด้วยศิลป ลักษณะ มีความงามและคุณค่าเชิงประณีตศิลป์ ฉะนี้ช่างปูนจึงได้รับการยอมรับและจัดรวมเข้าในหมู่ช่างสิบหมู่ด้วย สาระสำคัญของช่างปูนตามที่ได้อธิบายมานี้

เครื่องมือและอุปกรณ์การช่าง

1.ไม้แบบ
ใช้ในการหล่อแผ่นคอนกรีต โดยทั่วๆ ไปแล้วสามารถหาวัสดุหลายชนิดนำมาทำเป็นไม้แบบได้ เช่น เหล็กแผ่น อลูมิเนียมแผ่น สังกะสีแผ่นเรียบ สังกะสีลูกฟูก กระดาษแข็ง พีวีซีแผ่นไม้อัด ไม้ วัสดุที่กล่าวมานี้ อาจใช้วัสดุจากส่วนที่เหลือจากงานอื่น ๆได้ การทำไม้แบบไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป อาจนำมาตัด, ดังแปลง ตามแนวความคิดของแต่ละบุคคล อาจจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยม และรูปอื่น ๆ ก็ได้ สำหรับไม้แบบที่จะกล่าวในบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ไม้ฉำฉา ซึ่งได้มาจากไม้ที่เป็นลังเป็นกล่องไม้ที่ใช้บรรจุสินค้ามาจำหน่ายแล้วทิ้ง กล่องไม้นี้ตามข้างถนนหรือที่บางแห่ง ซึ่งไม้ต้องการใช้อีกแล้วนำมาใช้ประโยชน์ทำไม้แบบในงานนี้ได้ ขนาดของไม้ฉำฉาที่ต้องการควรมีความหนา 1/2" กว้าง 2" ยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน และยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน นำมาไสให้เรียบทั้ง 4 ด้านและให้ได้ฉาก พยายามให้มีขนาดหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความกว้างต้องเท่ากันทุกท่อนคือประมาณ 5 เซนติเมตร ตวามยาว 40 เซนติเมตรจำนวน 2 ท่อน และความยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน ไม้ทั้ง 4 ท่อน นี้ควรไสให้ตรง ได้ฉากเพื่อจะประกอบกันง่ายขึ้น ไม้ดังกล่าวนี้ต้องไม่แตกร้าว บิดงอ มีตำหนิมากและรอยตำหนิใหญ่ ถ้าไม่มีตำหนิเลยยิ่งดี เป็นไม้ที่แห้งไม่เปื้อนเปรอะสี, น้ำมัน, ดิน, โคลน, กาว ควรเป็นไม้ที่มีผิวเกลี้ยงสะอาด เพื่อจะได้เป็นไม้แบบที่สมบูรณ์ที่สุด



2.. กบล้างกลาง ใช้ในการไสไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

3. ฉากตายขนาด 12" ใช้ในการจับ ฉากของไม้ วัดฉากและขีดเส้นก่อนทำการตัดไม้

4. ขอขีด ใช้ในการขีดไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วใช้กบไสให้ได้ตามแนวขอขีดนั้น

5. ดินสอช่างไม้ ใช้ขีดเส้นตามตำแหน่งที่ต้องการ 

6.บรรทัดยาวหรือบรรทัดปาดปูน ใช้สำหรับฉาบปูนพื้นที่กว้างๆ


7.ค้อนหง้อนใช้ตอกตะปูตีแบบ


8.เลื่อยลันดาใช้สำหรับเลื่อยไม้


9.เลื่อยอกใช้ตัดไม้เพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการ


10.จอบ และพลั่วใช้ขุดดินและคลุกเคล้าส่วนผสม


11.เกรียงเหล็กชนิดสามเหลี่ยมใช้ในการก่ออิฐ

 
้้
12.เกรียงไม้ ใช้สำหรับตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ


13.แปรงสลัดปูน ใช้สำหรับช่วยในการฉาบปูน



การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ช่างปูน
งานพื้นคอนกรีต
  

พื้นอาคารทั่วไปใช้พื้นสำเร็จรูปชนิดท้องเรียบ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ 200 กิโลกรัม / ตารางเมตร ซึ่งโดยปกติกฎหมายกำหนดไว้ 150 กิโลกรัม / ตารางเมตร ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้พื้นสำเร็จรูปชนิด 3 ขา ของบริษัทผู้ผลิตแผ่นพื้น PCM แทนการใช้แผ่นพื้นชนิดท้องเรียบ(แบบเดิม) ทั้งนี้เพราะจุดเด่นของแผ่นพื้นชนิด 3 ขา คือเมื่อติดตั้งแผ่นพื้นไม่ต้องทำการค้ำยันกลาง เนื่องจากแผ่นพื้นถูกออกแบบมาเป็นคานรับน้ำหนักในตัวอยู่แล้ว ทำให้แผ่นพื้นไม่แอ่นกลางขณะติดตั้งและเทคอนกรีตทับหน้า 
ข้อพึงปฏิบัติ 
1. พื้นสำเร็จรูปควรใช้ชนิด 3 ขา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการแอ่นตัวของพื้น ขณะที่ทำการเทคอนกรีตทับหน้า 
2. การค้ำยันถ้าความยาวแผ่นพื้นเกินกว่า 4.00 เมตร ควรมีค้ำยันชั่วคราวตามแนวกึ่งกลางของความยาวแผ่นพื้น 
3. หลีกเลี่ยงการสกัดหลังคาน ค.ส.ล. เพื่อปรับระดับการวางแผ่นพื้น 
4. การเทคอนกรีตทับหน้า(Topping) ให้ใช้ตระแกรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร ความหนาคอนกรีตทับหน้า 4 เซ็นติเมตร หรือตะแกรง Wire Mesh ขนาด 4 มม. @ 20 เซนติเมตร ควรหลีกเลี่ยงการเทคอนกรีตทับหน้าหนากว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักของพื้นและโครงสร้างอาคาร 
5. คอนกรีตพื้นชั้นล่างควรผสมน้ำยากันซึม เพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดินที่อาจส่งผลกระทบต่อวัสดุปูผิวพื้น เช่น กระเบื้อง ไม้ปาร์เกต์ เป็นต้น โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร 


งานคอนกรีต
  
ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารมีความสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้บ้านที่สร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับ คอนกรีต ในงานโครงสร้างอาคาร โดยการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานในงานโครงสร้าง เสา, คาน, และพื้น เพราะสามารถควบคุมคุณภาพและส่วนผสมของ ปูนซิเมนต์ หิน ทราย และน้ำ ตามมาตรฐานวิศวกรรม ทำให้ได้คุณภาพที่แน่นอน กว่าการใช้โม่ผสมเอง ไม่เกิดความเสียหายแก่คอนกรีตโครงสร้าง และทำให้บ้านมีอายุการใช้งานยาวนาน 
นอกจากนี้ในส่วนของโครงสร้างคานชั้นหลังคานั้น วิศวกรของบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นมาตรฐาน โดยให้คานโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเท่านั้น(ไม่ใช้เหล็กรูปพรรณ) ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างของบ้านมั่นคงแข็งแรง มีความคงทนและมีอายุการใช้งานของอาคารที่ยาวนานขึ้น 
ข้อพึงปฏิบัติ 
1. การเทคอนกรีตโครงสร้างแต่ละประเภท ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องจนแล้วเสร็จในคราวเดียว ถ้าต้องมีการหยุดเทคอนกรีตให้หยุดเทคอนกรีตได้ตามตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด เช่น เสา หยุดเทที่ระดับท้องคานที่เสารองรับและต้องเป็นแนวระดับ , คาน หยุดเทได้ที่กึ่งกลางคานและแนวที่หยุดต้อเป็นแนวดิ่ง ฯลฯ เป็นต้น 
2. ขณะเทคอนกรีต ควรให้มีผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรอยู่ประจำระหว่างเทคอนกรีต เพื่อคอยควบคุมการเทคอนกรีตให้เป็นไปตามข้อกำหนด

งานฉาบปูน
 
จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและข้อกำหนดของผู้ผลิตปูนซเมนต์ชนิดฉาบ ผิวปูนฉาบจะต้องเรียบสม่ำเสมอกัน โดยเฉพาะบริเวณมุมผนัง มุมเสา จะต้องฉาบแต่งให้ได้มุมฉาก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยการใช้แผ่นกระเบื้องเคลือบหรือเหล็กฉากทาบเข้าบริเวณมุมผนัง นอกจากนี้บริเวณตำแหน่งที่ทำการฝังบล็อคไว้ในผนังก่ออิฐเพื่อติดตั้งสวิตท์ - ปลั๊ก ควรตกแต่งผิวปูนโดยรอบเพื่อความเรียบร้อยของงานฉาบ 
ข้อพึงปฏิบัติ 
1. ก่อนฉาบให้ทำการติดลวดตาข่าย เช่น มุมวงกบ – ด้านล่าง - บนประตู - หน้าต่าง, รอยต่อเสาคาน 
2. ใช้ปูนฉาบชนิดฉาบคอนกรีตมวลเบาเท่านั้น ห้ามใช้ปูนฉาบชนิดธรรมดา ฉาบบนผนังคอนกรีตมวลเบา เพราะมีโอกาสหลุดร่อน และแตกร้าวสูง เพราะไม่มีคุณสมบัติยึดเหนี่ยวเพียงพอ 
3. บริเวณมุมหรือขอบผนัง ให้ใช้เซี้ยมสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้งานเสร็จเร็ว และคุณภาพดีขึ้น 
งานฝ้าเพดาน , บัวมอบพื้น . บัวมอบฝ้าเพดาน 











......................................................................................................................................................................................................................................................................ข้อมูลจาก http://www.kpsw.ac.th/teacher/thawatchai/index.htm